ถอดรหัสกลยุทธ์ Temu: บทเรียนธุรกิจ E-Commerce ที่ขับเคลื่อนด้วย AI

ถอดรหัสกลยุทธ์ Temu: บทเรียนธุรกิจ E-Commerce ที่ขับเคลื่อนด้วย AI

ทำไม ถึงบุกไปที่ไหน ก็ขยายตลาดอย่างรวดเร็วและส่งผลต่อความเป็นผู้นำตลาดในประเทศนั้น?

หน้าเว็บ https://www.temu.com/
หน้าเว็บ https://www.temu.com/

เราคงเห็นกันแล้วว่า E-Commerce รายใหญ่ ผู้เล่นหน้าใหม่จากจีน ที่เปิดบริษัทมาได้ไม่กี่ปี ใช้เวลารวดเร็วในการบุกเข้าตีตลาดอเมริกา ประเทศที่ถูก Amazon ที่ยึดหัวหาด E-Commerce มายาวนานนับสิบปี จนเสียส่วนแบ่งตลาดไปในแบบที่ไม่เคยมีคู่แข่งรายไหนทำได้มาก่อนในตลาดนี้

ความสำเร็จของ Temu ไม่ได้เกิดขึ้นโดยบังเอิญ แต่เป็นผลมาจากกลยุทธ์ที่วางแผนมาอย่างดี

การแข่งขันดุเดือดในสหรัฐอเมริกา

  • Amazon Primeday นาน 2 วัน มีการลดราคาจัดหนักสุดที่เคยทำมา สูงสุดกว่า 70%
  • แต่ Temu จัดส่วนลดหนักกว่า 90% เกทับไปเลยจ้าา
  • ไม่ใช่ความผิดของ Consumer ที่เลือกสินค้าราคาที่ถูกกว่า กับคุณภาพที่สูสีกัน หรือแม้แต่คุณภาพแย่กว่า แต่พอรับได้
  • ด้วยสภาพเศรษฐกิจที่ตกต่ำและเงินเฟ้อแบบนี้ Consumer ทั่วโลก ต่างหวั่นไหวกับสินค้าราคาถูกกันทั้งนั้น

เบื้องหลังความสำเร็จ

เราเห็นภายนอก อาจจะเห็นแค่การลดราคา ทุ่มตลาด เพื่อแย่ง market share และแข่งขันอย่างรุนแรง

แต่กลยุทธ์เบื้องหลังอีกหลายอย่างที่ Temu ใช้ ซึ่งในฐานะคนทำธุรกิจ ซึ่งเป็นเคสที่น่าศึกษาเรียนรู้

ถึงสู้ไม่ได้ แต่รู้ไว้ว่า การที่จะทำแบบนี้ได้ มันต้องวางแผนยังไง คิดยังไง ทำยังไง น่าจะเป็นประโยชน์ และนำมาปรับใช้ในธุรกิจเราเองได้

Background ของ Temu

  • เป็นบริษัทลูกของ PDD Holdings ซึ่งมีบริษัทในเครืออย่าง Pinduoduo ยักษ์ใหญ่ E-Commerce จากจีน
  • PDD Holdings จดทะเบียนอยู่ในตลาดหุ้น NASDAQ ชื่อย่อ PDD มี Market Cap ประมาณ 180,000 ล้านดอลลาร์
  • Pinduoduo นี่ติดอันดับ E-Commerce ที่เติบโตเร็วที่สุดของจีน ก่อตั้งในปี 2015 (ปีเดียวกับ OpenAI) และมีการใช้ เทคโนโลยีพวก AI , Machine Learning เยอะมาก พอ PDD มาทำ Temu ก็ใช้เทคโนยี AI เป็นหัวใจหลักเช่นกัน

มาดูกันบ้างว่ากลยุทธ์ที่ Temu ใช้ มีอะไรบ้าง

กลยุทธ์หลักของ Temu

1. Business Model : Direct-to-Consumer (DTC)

  • ธุรกิจของ Temu ถูกออกแบบมาให้เป็น DTC มาตั้งแต่แรก คือ การขายของออนไลน์แบบไม่ผ่านตัวกลาง (พ่อค้า แม่ค้าคนกลาง) ออเดอร์จากลูกค้าถูกส่งตรงไปยังโรงงานผลิต การตัดตัวกลางออกไปจากสมการ ตัดการบวกเพิ่มจากตัวกลาง นายหน้า ร้านค้าต่างๆ ช่วยให้ Temu ขายสินค้าราคาถูกกว่าได้ สูงสุดกว่า 90%
  • มีการ commit จำนวนสั่งซื้อใน volume สูง ทำให้ผู้ผลิต ลดราคาลงมาต่ำได้ (เค้าไม่ใช่ส่งฟรี ถ้าซื้อของสิบบาทชิ้นเดียว แต่ต้องซื้อหลายชิ้นหน่อย แล้วก็รวบ order ลักษณะเดียวกัน รวมเป็น volume ที่สูงมาก)

2. Efficient Supply Chain Management

  • ใช้วิธีการจัดส่งแบบ Bulk Shipping จำนวนเยอะๆ
  • ส่งตรงจากโรงงาน (Direct Shipping) ตัดต้นทุนการมีโกดังสินค้าสำหรับเก็บ stock ของ และไม่เสียค่าขนส่งจากโรงงานมาเก็บที่โกดัง
  • มีการ optimize ค่าส่งด้วยการเลือกการส่งแบบถูกสุด โดยยอมแลกกับบางอย่าง เช่น แพคเกจที่ห่อมาอาจจะไม่ได้ดูดี
  • ใช้ช่องว่างทางภาษี ออเดอร์สินค้าที่มีมูลค่ารวมต่ำกว่า 800 ดอลลาร์ ไม่ต้องเสียภาษีนำเข้า (tariff) เค้าก็เลยแบ่งออเดอร์ส่งตามนี้เลย
  • ใช้ระบบ Smart Warehourse ที่มีการนำระบบ automation และ robot มาช่วยทำงานใน warehouse ทำให้ operation โคตร streamline ไหลลื่น เร็ว ไม่มีคอขวด ทั้งการคัดแยกสินค้าอัตโนมัติ (Automated Sorting) รวมไปถึงการแพคสินค้าอัตโนมัติ (Automated Packing)

3. ระบบ Logistic

  • Temu มีบริษัทแม่อย่าง PDD Holdings มาช่วยบริหารจัดการด้าน Logistic ซึ่งเค้าก็ไม่ได้ลงทุนสร้างเองเลย ทั้งขนส่งและโกดังสินค้า แต่ใช้วิธีการพาร์ทเนอร์กับคนอื่นเอา เพื่อจะได้ไม่ต้องใช้เงินจำนวนมากในการลงทุนพวกนี้
  • บริษัท Logistic ที่เป็นพาร์ทเนอร์เค้าในจีน คือ SF Express, YTO Express, ZTO Express, และ Cainiao Network (ลูกของ Alibaba)
  • ใช้อยู่ 4 เจ้า ให้แข่งกันเอง ใครทำดี ก็ได้ออเดอร์เยอะหน่อย

4. Pricing Strategy แบบ Loss Leader

  • ราคาต่ำพร้อมสู้ทุกคู่แข่ง (Competitive Pricing): Temu ใช้สโลแกน "Shop Like a Billionaire" เพื่อดึงดูดลูกค้าที่ชอบสินค้าราคาถูก สร้างความรู้สึกว่าสามารถซื้อสินค้าได้มากมายในราคาที่จับต้องได้
  • นโยบายส่งฟรีและคืนฟรี (Free Shipping & Return): ลดความลังเลในการสั่งซื้อของลูกค้า เพิ่มความมั่นใจในการทดลองสินค้า และสร้างความพึงพอใจให้กับผู้ใช้บริการ
  • เพิ่ม Average Basket Size (ABS): กำหนดยอดสั่งซื้อขั้นต่ำเพื่อรับสิทธิ์ส่งฟรี กระตุ้นให้ลูกค้าซื้อสินค้าในปริมาณมากขึ้นต่อครั้ง ซึ่งเป็นตัวชี้วัดสำคัญของ Temu
  • ใช้เทคนิค Upsell และ Cross-sell: นำเสนอสินค้าที่มีราคาสูงขึ้นหรือสินค้าที่เกี่ยวข้องเพื่อเพิ่มมูลค่าการซื้อ
  • จัดโปรโมชั่นอย่างต่อเนื่อง: มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายในรูปแบบต่างๆ เช่น ส่วนลดพิเศษ, แจกคูปอง, หรือแคมเปญตามเทศกาล เพื่อกระตุ้นยอดขายและดึงดูดลูกค้าใหม่
  • กลยุทธ์ "Loss Leader": ยอมขาดทุนในบางสินค้าเพื่อดึงดูดลูกค้าและสร้างฐานผู้ใช้ โดยหวังผลกำไรในระยะยาวจากการซื้อซ้ำและความภักดีต่อแบรนด์
  • การใช้ข้อมูลและ AI ในการกำหนดราคา: วิเคราะห์พฤติกรรมการซื้อของลูกค้าและปรับราคาแบบไดนามิกเพื่อเพิ่มโอกาสในการขาย
  • สร้างความรู้สึกเร่งด่วน (Fomo) : ใช้เทคนิคทางจิตวิทยา เช่น การแสดงจำนวนสินค้าที่เหลือน้อย หรือเวลาที่เหลือของโปรโมชั่น เพื่อกระตุ้นการตัดสินใจซื้อ

กลยุทธ์ราคานี้เป็นที่นิยมในวงการ E-Commerce เพื่อแย่งชิงส่วนแบ่งตลาด แต่ก็มีความท้าทายในด้านความยั่งยืนของธุรกิจในระยะยาว และอาจส่งผลต่อภาพลักษณ์ของแบรนด์หากไม่สามารถรักษาคุณภาพสินค้าและบริการได้

5. Influencer Partnership

  • พาร์ทเนอร์กับเหล่า Influencer เป็นสร้าง reach และ awareness ให้คนจำนวนมากได้เห็น และยังช่วยสร้างความน่าเชื่อถือให้ตัวแพลตฟอร์มด้วย
  • ทุ่มโฆษณา บ้านเราคงได้เห็น ads บ่อยใน IG, Facebook แต่ที่อเมริกา เค้ามีโฆษณาตอนแข่ง Super Bowl ด้วย คนก็เริ่มรู้จักในระดับแมส

6. เทคโนโลยีด้าน AI บนแพลตฟอร์ม

  • แพลตฟอร์มของ Temu อัดแน่นเทคโนโลยีและความฉลาดของ AI ที่แฝงอยู่ในทุกอณูของแพลตฟอร์ม
  • ระบบหลังบ้านทั้งหมดเป็น automated เพื่อ optimize ตัว operational expense ให้ต่ำสุด ตั้งแต่ การจัดการ stock สินค้า ไปจนถึงการให้บริการลูกค้า
  • ใช้ Machine Learning ทำระบบ Personalized Recommendations ที่ใช้ในการวิเคราะห์และทำความรู้จักผู้ใช้แต่ละราย จากประวัติการซื้อสินค้า การเข้าไปดูหน้าเว็บแต่ละหน้า แล้วนำมา optimize การเข้าใช้งาน การเห็น product ตัวที่คิดว่าผู้ใช้น่าจะสนใจซื้อ

ตรงนี้ เป็น Key Success Factors ของ Amazon มาก่อนเช่นกัน และแพลตฟอร์ม E-Commerce ส่วนใหญ่ก็มีทั้งนั้น

  • ใช้ Gamification เพิ่มเพิ่ม User retention & Engagement
  • ในแอปก็จะคล้ายๆใน Shopee, Lazada คือ มีการใช้ Gamification มาให้เล่นนู่นเล่นนี่ เพื่อเพิ่มระยะเวลาที่อยู่กับแพลตฟอร์ม (time spent) และ user retention
  • ใช้ AI ในการสร้าง แคมเปญโฆษณาสินค้า โดยเอา data ผู้ใช้มาช่วยในการสร้างโฆษณา ที่ optimize สำหรับ consumer นั้นๆ จะเป็น Social Media หรือ Search Engine ก็ตาม เรียกว่ากลยุทธ์การทำ Dynamic Advertising Strategies
  • มีการทำ Real-time Demand Synchonization โดยการใช้ข้อมูล feedback ของลูกค้าจากในแอป การซื้อขาย ความสนใจสินค้า มาปรับการแสดงสินค้าแล้วส่งข้อมูลนี้ sync กลับไปยัง supplier หรือโรงงานผลิต

ดังนั้นโรงงานจะรู้แล้วว่าลูกค้าอยากได้สินค้าแบบไหน อะไรที่มันฮิต ก็ทำอันนั้นออกมา อะไรไม่น่าจะฮิต ก็ทำน้อยๆหรือไม่ทำเลยเรียกว่าเป็นการ reverse-manufactoring ที่จากเดิมโรงงานผลิตของมาขาย แล้วก็หวังว่ามันจะขายได้ โดยที่ไม่รู้ demand ของคนซื้อแบบ real-time มาก่อน

  • Temu มีการใช้ Predictive AI ในการคาดการณ์ดีมานด์ตลาด จาก Pattern การซื้อของ
หน้าเว็บ www.wish.com
หน้าเว็บ www.wish.com

กลยุทธ์ของ Temu ได้ผลดีจริงหรือไม่ ต้องติดตามกันต่อในระยะยาว?

อันนี้ตั้งเป็นคำถามไว้ก่อนนะครับ ยังตอบไม่ได้ ณ ตอนนี้ เพราะเค้าเพิ่งเริ่มได้ไม่นาน แต่ผมมีเคสที่ใกล้เคียงกันมาเล่าให้ฟัง

ช่วงที่ผมอยู่อเมริกา (ปี 2015) ก็มีบริการ E-Commerce เจ้านึงชื่อ Wish ที่เติบโตเร็วมาก และใช้รูปแบบวิธีการแบบ Temu ในการแข่งกับ Amazon

ในฐานะผู้ท้าชิงหน้าใหม่ Wish ขายสินค้าราคาถูกกว่า ค่าส่งถูกกว่า Amazon และส่งเร็วกว่า ผมเคยสั่งพวกของใช้จาก Wish มาหลายอย่าง คิดว่านี่แหละ ผู้ท้าชิง Amazon ตัวจริง

แต่เมื่อต้นปี 2024 Wish ก็ได้ขายกิจการเรียบร้อย ด้วยมูลค่าร้อยกว่าล้านดอลลาร์ จบปิดท้ายด้วยความล้มเหลว

ปัญหาที่ Wish เจอในวันนั้น เป็นปัญหาเดียวกับที่ Temu เจอในวันนี้ คือ

คุณภาพสินค้า การเจอของปลอม จนมีคดีความฟ้องร้อง

ภาพลักษณ์ของแบรนด์เสียหาย ขาดความน่าเชื่อถือ

และโลกธุรกิจ การใช้กลยุทธ์ราคา ไม่ได้ทำให้ชนะหรือมีแต้มต่อคนอื่นเสมอไป

Profitability และ Sustainability สำคัญสุดๆ

ความท้าทายและความเสี่ยงของ Temu

แม้ Temu จะเติบโตอย่างรวดเร็ว แต่ก็เผชิญกับความท้าทายและจุดอ่อนหลายประการ:

  • การควบคุมคุณภาพสินค้า: Temu ถูกวิพากษ์วิจารณ์เรื่องการขายสินค้าคุณภาพต่ำ รวมถึงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีข้อบกพร่อง ของเล่นที่ไม่ปลอดภัย และสินค้าปลอม
  • ปัญหาการบริการลูกค้า: Temu ได้รับข้อร้องเรียนจำนวนมากเกี่ยวกับการบริการลูกค้าที่ไม่ตอบสนอง พัสดุที่ไม่ได้รับการจัดส่ง และการเรียกเก็บเงินที่น่าสงสัย
  • ความกังวลด้านความยั่งยืน: โมเดลธุรกิจของ Temu ที่อาศัยการผลิตแบบย้อนกลับและการเปิดตัวสินค้าใหม่จำนวนมาก ก่อให้เกิดความกังวลด้านความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม
  • การตรวจสอบจากหน่วยงานกำกับดูแล: Temu เผชิญกับการตรวจสอบจากหน่วยงานกำกับดูแลในสหราชอาณาจักร (ทั้ง UK เลยไม่ใช่แค่ในอังกฤษ)และสหรัฐอเมริกาเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติใน Supply Chain
  • ความท้าทายด้านการทำกำไร: แม้ Temu จะมุ่งเน้นการเติบโตอย่างรวดเร็วและการขยายส่วนแบ่งตลาด แต่ก็มีข้อสงสัยเกี่ยวกับความยั่งยืนของโมเดลธุรกิจในระยะยาว ว่าจะรอดมั้ย
  • ปัญหาด้านชื่อเสียงและความไว้วางใจ: กลยุทธ์การตลาดเชิงรุกของ Temu รวมถึงการโฆษณาอย่างต่อเนื่องและการร่วมมือกับ influencer ก่อให้เกิดความสงสัยเกี่ยวกับความน่าเชื่อถือของแพลตฟอร์ม
    (influencer ก็เจอปัญหาเรื่องความน่าเชื่อถือไปด้วย ถ้าเกิดบังเอิญไปรีวิวสินค้าที่ไม่มีคุณภาพ หรือของปลอม)

มุมมองจากผู้บริโภค

Temu ได้รับทั้งเสียงชื่นชมและคำวิจารณ์จากผู้ใช้:

ด้านบวก:

  • ราคาสินค้าที่ถูกมาก ทำให้ผู้บริโภคสามารถซื้อสินค้าได้หลากหลายในงบประมาณที่จำกัด
  • ความหลากหลายของสินค้า มีให้เลือกมากมายในทุกหมวดหมู่
  • ความสะดวกในการใช้งานแอพและเว็บไซต์

ด้านลบ:

  • คุณภาพสินค้าที่ไม่สม่ำเสมอ บางครั้งไม่ตรงตามที่โฆษณาไว้
  • ระยะเวลาการจัดส่งที่ค่อนข้างนาน โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับ Amazon Prime
  • ปัญหาในการคืนสินค้าและการขอเงินคืน บางครั้งใช้เวลานานหรือไม่ได้รับการตอบสนอง

การดำเนินงานในตลาดอื่นๆ

แม้ Temu จะประสบความสำเร็จในสหรัฐอเมริกา แต่ก็กำลังขยายตัวในตลาดอื่นๆ ด้วย:

  • ยุโรป: Temu เริ่มเข้าสู่ตลาดยุโรปในปี 2023 โดยเริ่มจากอังกฤษ เยอรมนี และฝรั่งเศส แต่เผชิญกับความท้าทายด้านกฎระเบียบที่เข้มงวดกว่าในสหรัฐฯ
  • เอเชีย: ในประเทศจีน Temu ใช้ชื่อ Pinduoduo ซึ่งเป็นหนึ่งในแพลตฟอร์ม E-commerce ที่ใหญ่ที่สุด แต่ยังไม่ได้ขยายไปยังตลาดเอเชียอื่นๆ อย่างเต็มรูปแบบ …เริ่มมาไทย ต่อจากฟิลิปปินส์และมาเลเซีย
  • ละตินอเมริกา: Temu กำลังพิจารณาการเข้าสู่ตลาดในภูมิภาคนี้ โดยเฉพาะในประเทศบราซิลและเม็กซิโก

ในแต่ละตลาด Temu ต้องปรับกลยุทธ์ให้เหมาะสมกับพฤติกรรมผู้บริโภคและกฎระเบียบท้องถิ่น

การคาดการณ์อนาคตของ Temu

  1. การขยายตลาด: คาดว่า Temu จะขยายไปสู่ตลาดใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และละตินอเมริกา
  2. การพัฒนาเทคโนโลยี: Temu อาจลงทุนเพิ่มเติมในเทคโนโลยี AI และ Machine Learning เพื่อปรับปรุงระบบแนะนำสินค้าและการจัดการ Supply Chain
  3. การเพิ่มหมวดหมู่สินค้า: อาจมีการขยายไปสู่หมวดหมู่สินค้าใหม่ๆ เช่น อาหารและเครื่องดื่ม หรือบริการดิจิทัล
  4. การพัฒนาแบรนด์เฉพาะ: Temu อาจพัฒนาแบรนด์สินค้าของตัวเองเพื่อเพิ่มอัตรากำไรและสร้างความแตกต่าง
  5. การปรับปรุงด้านความยั่งยืน: เนื่องจากแรงกดดันด้านสิ่งแวดล้อม Temu อาจต้องปรับปรุงนโยบายด้านความยั่งยืนและความรับผิดชอบต่อสังคม
  6. การรับมือกับกฎระเบียบ: คาดว่า Temu จะต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับกฎระเบียบที่เข้มงวดขึ้นในหลายประเทศ โดยเฉพาะด้านการคุ้มครองผู้บริโภคและการแข่งขันทางการค้า

ในฐานะเจ้าของธุรกิจ SME การแข่งขันกับยักษ์ใหญ่ e-commerce อย่าง Temu อาจดูเป็นเรื่องยาก แต่ไม่ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้เลยครับ สิ่งสำคัญคือต้องเข้าใจจุดแข็งของตัวเองและหาช่องทางที่แตกต่างเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน

กลยุทธ์ที่ SME สามารถนำไปปรับใช้ได้:

  1. เน้นคุณภาพและความแตกต่าง: สร้างเอกลักษณ์และเรื่องราวของแบรนด์
  2. บริการลูกค้าเหนือชั้น: ให้ประสบการณ์ที่ดีตั้งแต่ให้คำแนะนำจนถึงบริการหลังการขาย
  3. ใช้ Social Commerce และสร้าง Community: เข้าถึงลูกค้าผ่านโซเชียลมีเดีย สร้างกลุ่มลูกค้าที่ภักดี
  4. ร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจ: แลกเปลี่ยนทรัพยากรและสร้างโอกาสร่วมกัน
  5. ใช้เทคโนโลยีอย่างชาญฉลาด: นำ CRM, digital marketing tools มาเพิ่มประสิทธิภาพ
  6. หลีกเลี่ยงการแข่งขันด้านราคา: เน้นคุณค่าและคุณภาพมากกว่าราคาถูก
  7. มองหาช่องว่างในตลาด: หา niche market ที่ Temu ยังเข้าไม่ถึง

สิ่งสำคัญ :

  • อย่ามอง Temu เป็นแค่ศัตรู

แต่ลองมอง Temu เป็นโอกาสในการเรียนรู้และพัฒนาธุรกิจของเราเอง

  • อย่าท้อแท้

อาจจะพูดง่ายทำยากนะครับ เพราะการแข่งขันกับยักษ์ใหญ่มันเป็นเรื่องยากจริงๆ แต่เราต้องมั่นใจจุดแข็งของธุรกิจตัวเองและไม่หยุดพัฒนา

มันมีแจ้คผู้ฆ่ายักษ์ให้เห็นอยู่เรื่อยๆในโลกธุรกิจ

สิ่งที่น่าสนใจและน่าติดตามต่อ

  1. กลยุทธ์การเล่นสงครามราคาของ Temu จะได้ผลแค่ไหนในระยะยาว เพราะคนที่เล่นเกมนี้ ส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีใครประสบความสำเร็จ เพราะจะได้ลูกค้าที่อ่อนไหวต่อราคา ขาด loyalty ต่อแพลตฟอร์ม และมี switching cost ที่ต่ำ พร้อมจะเปลี่ยนไปยังสิ่งที่ถูกกว่าหรือดีกว่าเสมอ
  2. ธุรกิจ SME รายย่อยเล็กๆ ย่อมได้รับผลกระทบจากสงครามราคาแน่นอน แต่กลยุทธ์ด้านราคา ไม่ได้เกิดขึ้นครั้งแรกในโลก และคนที่ใช้กลยุทธ์ราคา ไม่ได้เป็นผู้ชนะเสมอไป
  3. ธุรกิจ SME ไทยควรปรับตัวในการแข่งขันยังไง? เป็นเรื่องที่น่าคิด น่าแชร์มากๆ ผมคิดว่าหลายคนมีมุมมองและวิธีการที่ดีมากๆ ในการเตรียมรับมือ ปรับตัว และแข่งขัน ถ้าเราแชร์ความรู้และประสบการณ์เหล่านี้ได้ ก็ไม่มีอะไรต้องกลัวครับ

ความได้เปรียบของ Temu และความท้าทายของ SME ไทยในยุค E-Commerce

ความได้เปรียบของ Temu:

1. การสนับสนุนจากรัฐบาลจีน:

  • เงินทุนมหาศาลสำหรับการพัฒนาเทคโนโลยีและการตลาด
  • นโยบายส่งเสริมการขยายตัวในต่างประเทศ รวมถึงสิทธิประโยชน์ทางภาษี
  • โครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีและโลจิสติกส์ที่ทันสมัย

2. ขนาดและทรัพยากร:

  • เป็นบริษัทในเครือ PDD Holdings ซึ่งเป็นยักษ์ใหญ่ด้าน E-Commerce
  • มีเครือข่ายซัพพลายเออร์ขนาดใหญ่ ทำให้ต่อรองราคาได้ดี
  • เข้าถึงเทคโนโลยีและนวัตกรรมล่าสุด

3. ความได้เปรียบด้านต้นทุน:

  • ผลิตสินค้าในจีนที่มีต้นทุนแรงงานและวัตถุดิบต่ำ
  • ระบบโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพสูง ลดต้นทุนการขนส่ง

สถานการณ์ของ SME ไทย:

  • ขาดการสนับสนุนเชิงนโยบายที่เข้มแข็งจากภาครัฐ
  • ทรัพยากรและเงินทุนจำกัด ทำให้ยากต่อการลงทุนในเทคโนโลยีและการตลาด
  • การปรับตัวสู่ดิจิทัลที่ล่าช้า ขาดความรู้และทักษะในการใช้เทคโนโลยี

แนวทางรับมือสำหรับ SME ไทย:

1. สร้างความแตกต่างและคุณค่า:

  • เน้นคุณภาพ ความเป็นเอกลักษณ์ และการบริการที่เป็นเลิศ
  • พัฒนาสินค้าที่ตอบโจทย์ตลาดเฉพาะกลุ่ม (Niche market)

2. พัฒนาแบรนด์ที่แข็งแกร่ง:

  • สร้างเรื่องราวและเอกลักษณ์ของแบรนด์
  • ใช้การตลาดเชิงเนื้อหา (Content marketing) เพื่อสร้างการรับรู้

3. ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี:

  • นำเทคโนโลยีมาใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงาน
  • เพิ่มช่องทางการขายออนไลน์ผ่านโซเชียลมีเดียและแพลตฟอร์ม E-Commerce

4. ร่วมมือกับภาครัฐและภาคเอกชน:

  • เรียกร้องนโยบายสนับสนุนจากภาครัฐ
  • สร้างพันธมิตรกับภาคเอกชนเพื่อเข้าถึงทรัพยากรและตลาดใหม่

5. สร้างเครือข่ายและพันธมิตร:

  • ร่วมมือกับ SME อื่นๆ เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และทรัพยากร
  • สร้างอำนาจต่อรองในการจัดซื้อและเข้าถึงตลาด

บทบาทของรัฐบาลไทย:

1. ออกนโยบายสนับสนุน SME:

  • ให้เงินทุนดอกเบี้ยต่ำและสิทธิประโยชน์ทางภาษี
  • สนับสนุนการส่งออกและการเข้าถึงตลาดต่างประเทศ
  • จัดอบรมพัฒนาทักษะดิจิทัลและการบริหารธุรกิจ

2. ส่งเสริมการใช้ E-Commerce:

  • สร้างความตระหนักถึงประโยชน์ของ E-Commerce
  • พัฒนาแพลตฟอร์ม E-Commerce ของไทยให้แข่งขันได้
  • ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลและการชำระเงิน

3. สร้างความเป็นธรรมในการแข่งขันและปกป้องผู้บริโภค:

  • กำกับดูแลแพลตฟอร์มต่างชาติให้ปฏิบัติตามกฎหมายไทย
  • ส่งเสริมการแข่งขันที่เป็นธรรมระหว่าง SME ไทยและแพลตฟอร์มต่างชาติ
  • พัฒนากฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคในยุคดิจิทัล

โดยการดำเนินการตามแนวทางข้างต้น SME ไทยจะสามารถเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและปรับตัวให้อยู่รอดในยุค E-Commerce ที่มีการแข่งขันสูงได้​​​​​​​​​​​​​​​​

ประชาสัมพันธ์

สำหรับท่านที่สนใจเรื่องการนำ AI ไปใช้งานในองค์กร ธุรกิจ
บริษัท Slingshot จัดสัมมนาและ Workshop ในหัวข้อ “Future Leaders : From AI-Driven to Organizational Impact”

ท่านใดสนใจ ดูรายละเอียดได้จากลิงค์นี้ครับ คลิก

https://www.slingshot.co.th/course/future-leaders

กรอก FTLA9 ในช่องคูปองมีส่วนลดให้ 25% ครับ

Great! Next, complete checkout for full access to Insiderly AI - Thai Edition.
Welcome back! You've successfully signed in.
You've successfully subscribed to Insiderly AI - Thai Edition.
Success! Your account is fully activated, you now have access to all content.
Success! Your billing info has been updated.
Your billing was not updated.